วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อาทิตตปริยายสูตร : ร้อนแรงด้วยแสงราค์เหนือภูผาแห่งคยาสีสะประเทศ

  ความร้อนแรงแห่งแสงพระอาทิตย์ยามบ่าย เหนือภูเขาคยาสีสะ

 ณ สถานที่แห่งนี้
พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร อันว่าด้วยไฟสามกอง คือ ราคัคคิ ไฟคือราคะ
โทสัคคิ ไฟคือโทสะ และโมหัคคิ ไฟคือโมหะ
อันเผาลนอายตนะภายใน
และอายตนะภายนอก
ให้เร่าร้อน
โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ
พร้อมกับลูกศิษย์รวมทั้งสิ้น ๑๐๐๓ รูป
จนได้บรรลุพระอรหันต์สิ้น

 ความงามที่เห็นมิใช่ฝีมือแห่งมนุษย์ แต่เป็นธรรมชาติปั้นแต่ง

ภาพมุมสูงจากจุดสูงสุดแห่งภูเขาพรหมโยนีตามความเชื่อแห่งพี่น้องชาวฮินดู
ความงามที่แตกต่างตามธรรมชาติอีกมุมหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

 
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ถนนอโศกมนตรี กรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 ในปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เพื่อศึกษาและส่งเสริมศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ระยะเวลาที่ผ่านมา สยามสมาคมได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ทรงรับสยามสมาคมไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตลอดมา

นอกจากนี้ยังมีบุคคลที่มีเกียรติยศ คุณความดีในหลายๆทางเช่น มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งของสมาคมอีกจำนวนหนึ่ง สมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ได้ร่มมือกับภาครัฐและเอกชนในการส่งเสิมด้านการศึกษา ด้านการเผยแพร่ ด้านการวิจัยและการอนุรักษ์ โดยที่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มีการจัดตั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เพื่อส่งเสิมการศึกษา ค้นคว้า รวมทั้งผลงานด้านต่างตามวัตถุประสงค์ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เพือใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชนทั่วไป โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเพียงแค่ใช้เป็นแหล่งความรู้เท่านั้นเอง นั่นคือจุดประสงค์หลักของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาชิกกิตติมศักดิ์

ปัจจุบัน สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์มีองค์อุปถัมภก องค์อนูปถัมภก องค์นายกกิตติมศักดิ์ และอุปนายกกิตติมศักดิ์ ดังนี้

องค์บรมราชูปถัมภก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

องค์อนูปถัมภก มี 4 พระองค์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

องค์นายกกิตติมศักดิ์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

อุปนายกกิตติมศักดิ์
หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา
สมเด็จพระราชชนนี อาชิ เคซัง โชเดน วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน
เจ้าฟ้าชายฟุมิฮิโตะ อะกิชิโนะ แห่งประเทศญี่ปุ่น

ความแตกต่างระหว่าง Minds the train กับ Trains the mind


What is the difference between a railway guard and a teacher ?


One minds the train while the other trains the mind.

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับ ๕ กังฟูผู้พิทักษ์

ตั๊กแตน  : ความอดทน
อสรพิษ : ขวัญกำลังใจ คือ พิษอันร้ายกาจ
นางพยัคฆ์ : มันเป็นเรื่องของความกล้า
วานร : ระเบียบวินัย
กระเรียน : ความเมตตา


วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บัวนาร์โรตี ซีโมนี (อิตาลี: Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลี

ศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด (David)

หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมันนั่นเอง ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียด เลโอนาโด ดาวินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ "การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้") ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) ที่กรุงโรม

ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับ พระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม

เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement (Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี

มีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจาก พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของ มิเกลันเจโล ให้ยืนยาวออกไปอีก"

ปัญหาของท่านมุ้ย

"ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้เสมอ เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรคอะไรก็ตาม
เราก็พักจากตรงนั้นไปก่อน
แล้วเปลี่ยน
ไปทำอย่างอื่น หรือหาทางผ่อนคลาย
ไปเล่นเกมบ้าง
ดูหนังบ้าง
เดี๋ยวก็คิดหาทางออกได้เอง
ที่สำคัญ
ต้องอย่าคิดว่าเป็นปัญหา แต่ให้คิดว่า
อุปสรรคทำให้เราเกิดความคิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น"
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

เขียนดี ต้องมีเคล็ด

ต้อง "ถึง" พร้อม ๔ ประการ
๑.เรื่องถึง
๒.อารมณ์ความรู้สึกต้องถึง
๓.ความสามารถในการใช้ถ้อยคำ
๔.ต้องถึงผู้อ่าน

ไว้ทุกข์กี่วันดี

"ทุกข์มีไว้ให้กำหนดรู้
รู้แล้วก็ละ
จะ
ไปไว้มันทำไม"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

วัฒนธรรมแลกเปลี่ยน

"ผมสังเกตว่าเวลานี้สังคมไทยอยู่ในสภาพที่สองวัฒนธรรมมาปะทะกัน
คือ
วัฒนธรรมความเชื่อ  กับวัฒนธรรมความคิด
ความเชื่อ มีคำคู่กัน คือ "เชื่อฟัง"
และวัฒนธรรมความเชื่อฟังก็มาจากการฟัง ดังนั้น วิวัฒนาการของสังคมเรา
จึงมาจากการฟังเยอะ ตั้งแต่ฟังพระเทศน์ ฟังผู้มีอำนาจ
ฟังผู้มีผลประโยชน์
จากนั้น
จึงสะสมมาเป็นความเชื่อ
ในขณะที่ความคิดนั้นคู่กับคำว่า "คิดอ่าน" การอ่านเป็นรากฐานของความคิด
ดังนั้นเมื่อรากฐานคือความคิดอ่านยังไม่แน่น
ความคิดจึงไม่เข้มแข็ง
พอมาถึงปัจจุบัน
สังคมก้าวกระโดดมาเป็นสังคมแบบไฮเทคที่การเขียนหนังสืออาจจะไม่จำเป็นแล้ว
เพราะฉะนั้นการอ่านก็ยิ่งอ่อนแอลงไปอีก รวมถึงเรื่องอื่นด้วย
เช่นแต่ก่อนจะข่มอารมณ์ต้องนับ ๑ - ๑๐ เดี๋ยวนี้กด ๑ - ๑๐
ทะเลาะกันได้เลย รักกันได้เลย อารมณ์คนไวมากขึ้น
ไม่ได้ใช้ความคิด ใช้แต่ความรู้สึก"

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City) ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของ พระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก นครรัฐวาติกันจัดว่าเป็นประเทศ ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ศูนย์กลางคือ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

ประวัติศาสตร์
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 นครรัฐวาติกันและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญายอมรับสถานะของนครรัฐวาติกันเป็นรัฐเอกราชมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 นครรัฐวาติกันได้รับการจารึกให้เป็นดินแดนที่จะต้องได้รับการปกป้องรักษาไว้เป็นพิเศษในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางอาวุธ (International Register of Cultural Works under Special Protection in Case of Armed Conflict) เนื่องจากเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมของโลก มีหอสมุดอันเก่าแก่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 (the Apostolic Library of the Vatican)  ต่อมา ในศตวรรษที่ 15 ได้มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุนครรัฐวาติกัน (Secret Archive of the Vatican) พิพิธภัณฑ์วาติกัน มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ และมีสำนักพิมพ์ของตนชื่อ the Vatican Polyglot Press ซึ่งเป็นที่จัดพิมพ์ผลงานภาษาต่างๆ รวมทั้งออกหนังสือพิมพ์รายวัน Observatore Romano ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ ค.ศ. 1861 และตั้งแต่ ค.ศ. 1931 นครรัฐวาติกันได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ถ่ายทอดเสียงภาษาต่างๆ ถึง 30 ภาษา ปัจจุบัน นครรัฐวาติกันมีสถานีวิทยุกระจายเสียง 3 สถานี สถานีโทรทัศน์ 1 สถานี

รัฐบาล
สมเด็จพระสันตะปาปาสมเด็จพระสันตะปาปาทรงอำนาจสูงสุดทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ สมเด็จพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เป็นชาวเยอรมันมีพระนามเดิมว่า โจเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) พระชนมายุ 78 พรรษา ทรงได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยสภาที่ปรึกษาของสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะชั้น Cardinal (College of Cardinals) ซึ่งมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเฉพาะสมเด็จพระราชาคณะชั้นคาร์ดินัล ที่มีอายุต่ำกว่า 80 ปีเท่านั้น สมเด็จพระสันตะปาปาที่ทรงได้รับเลือกตั้งแล้วจะอยู่ในตำแหน่งไปจนตลอดพระชนม์ชีพ สมเด็จพระสันตปาปา Benedict ที่ 16 ทรงเข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2548

การบริหารศาสนจักร
การบริหารศาสนจักรเป็นหน้าที่ของ the Roman Curia หรือสำนักงานบริหารศาสนจักรส่วนกลาง ซึ่งมักเรียกในภาษาอังกฤษว่า Holy See หรือ Apostolic See มีหน่วยงานหลักคือ สำนักเลขาธิการแห่งรัฐ (Secretariat of State) รับผิดชอบการบริหารประเทศ โดยมีพระคาร์ดินัลผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งรัฐ (Secretary of State) เป็นหัวหน้า (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) มีหน้าที่รับผิดชอบกิจการด้านการเมืองและการทูตของนครรัฐวาติกัน  เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่สอง ทรงปรับโครงสร้างของสำนักเลขาธิการแห่งรัฐ โดยแบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ
1.The Section for General Affairs หรือ The First Section รับผิดชอบด้านการบริหารของศาสนจักรและดูแลสถานทูตต่าง ๆ ประจำนครรัฐวาติกัน หัวหน้าหน่วยงาน คือ The Substitute for General Affairs และมีผู้ช่วย คือ The Assessor for General Affairs
2.The Section for Relations with States รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการแต่งตั้งบิชอปในประเทศต่างๆ หัวหน้าหน่วยงาน คือ The Secretary for Relations with States และมีผู้ช่วย คือ The Under-Secretary for Relations with States
นอกจากหน่วยงานทั้งสองข้างต้นแล้วยังมี Sacred Congregations ต่างๆ ซึ่งเทียบได้กับกระทรวงต่างๆ รวม 9 กระทรวง เรียกชื่อตามลักษณะงานในความรับผิดชอบ ได้แก่
1.The Congregation for the Doctrine of the Faith รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมศรัทธาและศีลธรรมทั่วโลก
2.The Congregation for the Causes of Saints รับผิดชอบเกี่ยวกับขั้นตอนในการประกาศแต่งตั้งนักบุญ
3.The Congregation for the Oriental Churches รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมของศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก (ไบแซนไทน์)
4.The Congregation for Bishops รับผิดชอบเกี่ยวกับการตั้งบิชอปและสังฆมณฑล
5.The Congregation for Divine Worship and the Discipline of the Sacraments รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมสักการะบูชาในคริสต์ศาสนา
6.The Congregation for the Evangelization of Peoples รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมแพร่ธรรมของมิชชั่นนารีในศาสนจักรในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
7.The Congregation for Institutes of Consecrated Life and for Societies of Apostolic Life รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลนักบวช
8.The Congregation for the Clergy รับผิดชอบเกี่ยวกับบาทหลวงและผู้ช่วยบาทหลวงที่มิใช่นักบวช รวมถึงกิจกรรมและวินัยของบาทหลวงประจำสังฆมณฑล
9.The Congregation for Catholic Education รับผิดชอบเกี่ยวกับสามเณราลัย รวมทั้งการส่งเสริมและการจัดตั้งสถานศึกษาแคธอลิก โดยเฉพาะ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ

ภูมิศาสตร์
ตามสนธิสัญญาแห่ง “ลาเตรัน” นครรัฐวาติกันมีอาณาเขตประกอบด้วยวังวาติกัน วังกัสเตลกันดอลโฟ (Castelgandolfo) อันเป็นที่ประทับร้อนอยู่นอกชานกรุงโรมไปทางทิศใต้ มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน (Gregorian University) และโบสถ์ 13 แห่งในกรุงโรม เฉพาะวังวาติกันมีเนื้อที่ 150 ไร่ หรือ 2/5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ พิพิธภัณฑ์วาติกัน หอสมุดวาติกัน และทีประทับขององค์สันตะปาปาด้วย ภายในบริเวณดังกล่าวยังมีอุทยานวาติกันอันงดงาม มีสถานีวิทยุของวาติกัน มีที่ทำการไปรษณีย์วาติกัน สถานีรถไฟวาติกัน ธนาคารวาติกัน และร้านค้าของวาติกัน ซึ่งปลอดภาษีทุกชนิด แม้นครรัฐวาติกันจะมีการติดต่อทางการทูตกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย แต่ในนครรัฐวาติกันหามีที่ตั้งสถานทูตไม่ เพราะทูตประจำวาติกันมักจะได้แก่ ทูตประจำประเทศหนึ่งในยุโรป ทูตประจำนครรัฐวาติกันจึงมีที่พำนักอยู่นอกเขตวาติกันทั้งสิ้น

เศรษฐกิจ
ศาสนจักรวาติกันมีรายได้หลักจากการสนับสนุนทางการเงินขององค์กรคริสต์ศาสนานิกายโรมันแคธอลิคทั่วโลก เงินรายได้นี้เรียกว่า "Peter s Pence" นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการลงทุนต่างๆ ภายใต้การบริหารของหน่วยงาน The Patrimony of the Holy See ค่าธรรมเนียมการเข้าชมพิพิธภัณฑ์รายได้จากการจำหน่ายหนังสือ สิ่งพิมพ์ ดวงตราไปรษณียากร ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว

ประชากร
คนเชื้อชาติวาติกันไม่มีในโลก มีแต่พลเมืองสัญชาติวาติกันเป็นอย่างมาก นครรัฐวาติกันมีพลเมืองประมาณ 900 คน ประมาณ 200 คนเป็นสตรี และมีคนทำงานในนครวาติกัน 1,300 คน พลเมืองอันประกอบด้วยองค์สันตะปาปา คาร์ดินัล ผู้ปกครองนครรัฐ วาติกัน เจ้าหน้าที่ประจำวาติกัน และทหารสวิสมีหอกโบราณเป็นอาวุธประดับเกียรติ ซึ่งเป็นองครักษ์ของสันตะปาปาประมาณ 100 คน ทหารสวิส มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1506 การแต่งกายของทหารสวิส กล่าวกันว่าเครื่องแบบออกแบบโดย “มีเกลันเจโล” แต่แท้จริงแล้ว "ราฟาเอล" คือบุคคลที่พัฒนาชุดตามอิทธิพลทางศิลปะยุคเรเนซองและภาพเขียนของเขา ทหารสวิสทุกคนเป็นชาวสวิส และเป็นคาทอลิกที่ดีทหารสวิสแต่ละคนจะประจำการชั่วระยะหนึ่ง นอกจากนั้นก็ได้แก่เจ้าหน้าที่ทูตวาติกันที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย พลเมืองวาติกันเหล่านี้จะมีสัญชาติวาติกันเฉพาะในขณะดำรงตำแหน่งหรือเป็นภรรยาของพลเมืองวาติกัน หรือเป็นบุตรที่มีอายุไม่เกิน 25 ของพลเมืองวาติกัน บุตรคนใดอายุถึง 25 ปี ต้องกลับคืนสัญชาติเดิม ผู้ถือสัญชาติวาติกัน หากพ้นตำแหน่งเมื่อใดก็ต้องคืนสู่สัญชาติเดิมของตน พร้อมด้วยบุคคลทุกคนในครอบครัวที่ถือสัญชาติวาติกัน หากชาติเดิมของตนไม่ยอมรับให้ขอสัญชาติอิตาลีซึ่งรัฐบาลอิตาลีมีข้อผูกมัดต้องรับเสมอ
ธงชาติ
ตราแผ่นดิน

เก้าส่วนที่เหลือ


พอ


เพื่อน

ความรู้ กับ ความคิด

"สำหรับผม การจบปริญญาไม่ได้มีความสำคัญขนาดนั้น
ถามว่าจำเป็นไหม
จำเป็น
แต่
ไม่ถึงที่สุด ถ้าให้ผมเลือกคนที่มีความรู้กับคนที่มีความคิด
ผมเลือกคนที่มีความคิด
เพราะว่าความรู้คือสิ่งหนึ่งที่ตกผลึก
และบันทึกไว้ในหนังสือ
 
ใครอยากรู้ก็สามารถไปค้นหาได้
แต่
คนที่มีความคิด
หายาก"
พันธ์รบ กำลา
เจ้าของเฟรนไซส์ดัง "ชายสี่หมี่เกี๊ยว"