ปัญญา วะ ธะเนนะ เสยโย : ปัญญานั่นแหละประเสริฐกว่าทรัพย์ : พี่รู้สอง น้องรู้สี่ ใครมีความรู้ดี ดี เอามาแบ่ง(ปัญ)กัน(นะ)
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553
จะไปสตูล
จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า "สตูล" มาจากคำภาษามลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อนซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง "นครสโตยมำบังสการา" (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกาหลง (Bauhinia acuminata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : หมากพลูตั๊กแตน (Dalbergia bariensis)
คำขวัญประจำจังหวัด : สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
คำขวัญประจำจังหวัด (เดิม): ตะรุเตา ไก่ดำ จำปาดะ คนใจพระ งามเลิศ เชิดสตูล
ประวัติ
ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งในเขตเมืองไทรบุรี ประวัติความเป็นมาของเมืองสตูลจึงเกี่ยวข้องกับไทรบุรี ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า "ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแยกกันเป็นสองพวกคือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้สองปีก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูลต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูล และฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น"
เรื่องเกี่ยวกับเมืองสตูลนั้นยังปรากฏในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฏบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี โดยเมืองสตูลได้แยกออกจากไทรบุรีอย่างเด็ดขาดตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ เรื่องการปักปันดินแดนนะหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) จากหนังสือสัญญานี้ยังส่งผลให้เมืองไทรบุรีและเมืองปะลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนเมืองสตูลยังคงเป็นของไทยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อปักปันดินแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2453)
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สายการบิน Buddha Air เส้นทางลุมพินี - กาฐมัณฑุ
สายการบิน Buddha Air เส้นทางลุมพินี - กาฐมัณฑุ
ณ สนามบิน โคตมแอร์พอร์ท
สิทธัตถะนคร ลุมพินี ประเทศเนปาล
วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ขอเชิญร่วมงานทำบุญอายุวัฒนมงคล
ขอเชิญร่วมงาน
ทำบุญอายุวัฒนมงคลครบรอบ ๘๒ ปี
พระเดชพระคุณพระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล Ph.D.)
เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย เนปาล
ณ วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ณ ความสูง 2,175 เมตรจากระดับน้ำทะล
นาคารโกฏ หรือนครโกฏ (Nagarkot)
นครโกฏเป็นเมืองเล็กๆ น่ารักบนเขาที่เงียบสงบเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนประเทศเนปาล ตั้งอยู่ห่างจากกรุงกาฐมาณฑุไปทางทิศตะวันออก 32 กิโลเมตร และอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 2,175 เมตร สามารถชมความงามของยอดเขาสำคัญต่างๆ ทางด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยได้ตลอดแนว ในวันที่อากาศจะสามารถมองเห็นยอดเขาสการ์มาถา (Sagarmatha) หรือยอดเขาเอเวอร์เรส (Mt.Everest) ที่สุงที่สุดในโลกได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นาคาโกฏยังเหมาะกับการชมพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกอีกด้วย
พระเจดีย์พุทธนาถ : ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่เวอร์ชั่นเนปาล
โพธินาถ หรือพุทธนาถ (Boudhanath) เป็นสถูปที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงกาฐมาณฑุไปทางทิศตะวันออกประมาณ 8 กิโลเมตร โดยเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล บนเจดีย์มีดวงตาเห็นธรรมของพระพุทธเจ้า (Wisdom Eyes) ทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบวัดเป็นแหล่งชุมชนของชาวพุทธมหายานจากทิเบตที่อพยพเข้ามาเมื่อปีพ.ศ. 2502 จึงจะเห็นพระทิเบตและคนทั่วไปยืนแกว่งล้อมนต์พร้อมกับสวดมนต์อยู่ทั่วไป องค์การยูเนสโกขึ้นได้ทะเบียนสถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกในปีพ.ศ. 2522
วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เพื่อชีวิตดีงาม ณ วัดโคกสมานคุณ หาดใหญ่ สงขลา
๓๐ พฤษภาคม ถึง ๓ มิถุนายน นี้ กลุ่มพัฒนาจิต "เพื่อชีวิตดีงาม" ได้รับอาราธนานิมนต์จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้จัดอบรมพระธรรมทูตในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ ๒ ณ วัดโคกสมานคุณ หาดใหญ่ สงขลา
ในการนี้มีพระจาก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เข้ารับการอบรมจำนวน ๑๐๐ รูป
คณะพระวิทยากรกลุ่มพัฒนาจิต "เพื่อชีวิตดีงาม" จำนวน ๒๐ รูป จัดหลักสูตร Fa For D (Facilitator for development of decency) "วิทยากรกระบวนการ พัฒนางานกระบวนธรรม" เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความ
-
►
2011
(238)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
-
▼
2010
(44)
-
▼
มิถุนายน
(11)
- ค่ายพุทธบุตร เยาวชน ณ วัดนิคมพัฒนาราม สตูล
- พุทธศาสนิกสัมพันธ์ ณ วัดนิคมพัฒนาราม สตูล
- วิทยากรกระบวนการ พัฒนางานกระบวนธรรม
- รมณียสถาน หนองคาย
- จะไปสตูล
- เพียงแค่ชื่อ (น่ะ)
- สายการบิน Buddha Air เส้นทางลุมพินี - กาฐมัณฑุ
- ขอเชิญร่วมงานทำบุญอายุวัฒนมงคล
- ณ ความสูง 2,175 เมตรจากระดับน้ำทะล
- พระเจดีย์พุทธนาถ : ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่เวอร์ชั่นเนปาล
- เพื่อชีวิตดีงาม ณ วัดโคกสมานคุณ หาดใหญ่ สงขลา
-
▼
มิถุนายน
(11)