วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ธรรมะ ออน ไทม์ ณ ไดอาน่า การ์เด้น รีสอร์ท พัทยา

ป้ายประชาสัมพันธ์หน้างาน

นายสมิง สืบสกุล พิธีกรในงาน

นางโสภิญ เทพจักร์  กล่าวรายงาน

พระอาจารย์ขวัญชัย กิตฺติเมธี
บรรยายธรรม หัวข้อ "ศิลปะการคิด เปลี่ยนชีวิตจากข้างใน"

ถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึกร่วมกับพระอาจารย์
และแขกผู้มีเกียรติ

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัตตานี รุ่นที่ ๒ ที่ภูเขาหลง สงขลา

บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก
นกเขาดี
ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด
คือ
คำขวัญประจำจังหวัดปัตตานี
คณะพระวิทยากรกลุ่มพัฒนาจิต "เพื่อชีวิตดีงาม"
ถ่ายภาพร่วมกับ
พระครูศรีจริยาภรณ์
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดช้างให้ รองเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
คณะพระวิทยากร
และผู้เข้ารับการอบรมตามโครงการฯ
ถ่ายรูปหมู่ร่วมกับ
พระครูศรีจริยาภรณ์
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดช้างให้ รองเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

บาละแห่งความทรงจำ

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ
พระศาสนา พระมหากษัตริย์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดยะลา
พระวิทยากรกลุ่มพัฒนาจิต  "เพื่อชีวิตดีงาม"
จัดโครงการพุทธศาสนิกสัมพันธ์
ณ วัดบาละ ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา  ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กันยายน ๒๕๕๓
โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน ๑๗๐ คน
ภายใต้ความดูแลของหลวงพ่อพระครูปิยธรรมนิเทศก์
เจ้าอาวาสวัดบาละ
คณะสงฆ์ พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกาชาววัดบาละ
ขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์มหาสมพล เขมทตฺโต เจ้าคณะอำเภอยะหา - กาบัง
พระครูสถิตธีรธรรม
เจ้าอาวาสวัดยะหาธรรมาราม เจ้าคณะตำบลยะหา
ที่ได้เมตตาต้อนรับพระวิทยากรเป็นอย่างดี
และขออนุโมทนากับทุกน้ำใจของญาติโยมชาววัดบาละ
ที่ได้ถวายของฝากไม่ว่าจะเป็นลองกอง สะตอสด และสะตอดอง
ตลอดจนได้ถวายจตุปัจจัยเข้ากองทุนกลุ่มฯ
เป็นจำนวนเงิน ๓,๓๗๐ บาท
มา ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอบุญจงรักษา
เทวดาจงคุ้มครองทุก ๆ ท่านให้มีแต่ความสุข ความเจริญ
ตลอดกาลนานเทอญ
สาธุ

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ณ ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม

พระวิทยากรกลุ่มพัฒนาจิต "เพื่อชีวิตดีงาม"
โดยการนำของพระครูสิริวิหารการ
ประธานที่ปรึกษากลุ่มฯ
บันทึกเสียงบทสวดมนต์ประจำกลุ่มที่ใช้ในการอบรมฯ
 ณ ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม
เมื่อค่ำวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๓
โดยมีคุณโยมหิน โปรดิวเซอร์อารมณ์ดีแห่งศรีสยาม คอยดูแล และอำนวยความสะดวก
ทุกอย่าง จนการบันทึกเสียงสำเร็จด้วยดี
อนุโมทนากับคุณโยมสาธิต คล่องเวสสะเจ้าของห้องบันทึกเสียงศรีสยาม และโยมหินโปรดิวเซอร์อารมณ์ดี
มา ณ โอกาสนี้ด้วย
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทสวดมนต์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

พระนางสิริมหามายา : พุทธมารดาโสดาบัน


พระนางสิริมหามายา มีพระนามเต็มว่า พระนางสิริมหามายา ศากยราชเทวี
เป็นพุทธมารดาในพระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า)
ผู้มีบุญญาธิการเป็นพระศาสดาเอกของโลก เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
และเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนาธิปราช กษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
หลังจากพระนางสิริมหามายา อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสุทโธทนะ ไม่นาน
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในคืนนั้นพระนางสิริมหามายากำลังบรรทมหลับสนิท
ทรงสุบินว่าพระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์ มีช้างเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงเข้ามาหาพระนาง
นำดอกบัวมาให้ เมื่อพระนางรับดอกบัวไว้แล้วก็ตื่นขึ้น ภายหลังโหราจารย์ประจำราชสำนักทำนายว่าเป็นสุบินนิมิตที่ดี จะมีพระราชโอรสผู้ประเสริฐอุบัติบังเกิด
เมื่อใกล้กำหนดพระประสูติกาลที่กรุงเทวทหะ เมืองต้นตระกูลพระนาง
ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์พระนางจะต้องเดินทางกลับ ในระหว่างเดินทาง
ระหว่างกรุงกบิลพัศด์กับกรุงเทวทหะ บริเวณที่เรียกว่า “สวนลุมพินีวัน” พระนางได้หยุดพักพระอิริยาบถ
(ปัจจุบันคือตำบล “รุมมินเด แขวงเปชวาร์” ประเทศเนปาล) โดยประทับยืนพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละ จนรู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร เมื่อวันศุกร์ เพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
ภายหลังประสูติพระโอรสได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์
พระโอรสจึงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี พระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำริ กระทำการสนองพระคุณพุทธมารดา จึงเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาประทานแก่พุทธมารดาจบลง องค์พระสิริมหามายา พุทธมารดา
ก็บรรลุโสดาปัตติผล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับโลกมนุษย์เมื่อ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

เพื่อตัวเอง ๑ ส่วน เพื่อคนอื่น ๒ ส่วน

มีนกแขกเต้าฝูงหนึ่งประมาณ 500 ตัว อาศัยอยู่ในป่างิ้วบนยอดเขาแห่งหนึ่ง
เมื่อถึงเวลาหากิน ฝูงนกแขกเต้า
ต่างพากันบินไปกินข้าวสาลีในนา ของชาวมคธ เมื่อกินข้าวสาลีอิ่มแล้ว
ต่างก็บินกลับรังด้วยปากเปล่าๆ ทั้งนั้น
ส่วนพญานกแขกเต้าที่เป็นหัวหน้า เมื่อกินอิ่มแล้ว ยังต้องคาบข้าวสาลี
อีก ๓ รวงกลับไปด้วย ชาวนาเห็นก็แปลกใจ
จึงพยายามดักจับพญานกแขกเต้าให้ได้
ด้วยการสังเกตที่ยืนของพญานกนั้น
แล้ววางบ่วงดักไว้
วันหนึ่งพญานกถูกจับได้ ชาวนาจึงถามพญานกว่า
“นกเอ๋ย ท้องของท่านคงจะใหญ่กว่านกอื่น
เพราะเมื่อท่านกินอิ่มแล้ว ยังต้องคาบรวงข้าวกลับไป อีกวันละ 3 รวง
เป็นเพราะท่านมียุ้งฉาง
หรือเป็นเพราะเรามีเวรต่อกันมาก่อน”
พญานกตอบว่า
“ข้าพเจ้าไม่ได้มียุ้งฉาง และเราก็ไม่มีเวรต่อกัน
แต่ที่คาบไป 3 รวงนั้น รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า รวงหนึ่งเอาไปให้เขา
และอีกรวงหนึ่งเอาไปฝังไว้”
ชาวนาได้ฟังก็เกิดความสงสัย จึงถามว่า
“ท่านเอารวงไปใช้หนี้ใคร
เอาไปให้ใคร
และเอาไปฝังไว้ที่ไหน” พญานกแขกเต้าจึงตอบว่า
“รวงที่หนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า คือ เอาไป เลี้ยงดูพ่อแม่เพราะท่านแก่แล้ว และเป็น
ผู้มีพระคุณอย่างมาก ทั้งให้กำเนิด
และเลี้ยงดูข้าพเจ้าจนเติบใหญ่ นับว่าข้าพเจ้า
เป็นหนี้ท่านจึงสมควรเอาไปใช้หนี้”
“รวงที่สองเอาไปให้เขา คือ
เอาไปให้ลูกน้อยทั้งหลายที่ยังเล็กอยู่ ไม่สามารถหากินเองได้ เมื่อข้าพเจ้า
เลี้ยงในตอนนี้ 
ต่อไปยามข้าพเจ้าแก่เฒ่า
เขาก็จะเลี้ยงตอบแทน จัดเป็นการให้เขา”
“รวงที่สามเอาไปฝังไว้ คือ
เอาไปทำบุญด้วยการให้ทาน กับนกที่แก่ชรา นกที่พิการหรือเจ็บป่วยไม่สามารถหากินเองได้
เท่ากับเอาไปฝังไว้ 
เพราะบัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า การทำบุญเป็นการฝังขุมทรัพย์ไว้”
ชาวนาได้ฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสว่า
นกนี้เป็นนกกตัญญูต่อพ่อแม่
เป็นนกที่มีความเมตตาต่อลูกน้อย
ใจบุญ มีปัญญารอบคอบ
มองการณ์ไกล
พญานกได้อธิบายต่อไปว่า
“ข้าวสาลีที่ข้าพเจ้ากินเข้าไปนั้น
ก็เปรียบเสมือนเอาไปทิ้งลงไปในเหวที่ไม่รู้จักเต็ม เพราะข้าพเจ้าต้องมากินทุกวัน
วันนี้กินแล้ว พรุ่งนี้ก็ต้องมากินอีก กินเท่าไรก็ไม่รู้จักเต็ม
จะไม่กินก็ไม่ได้เพราะถ้าท้องหิวก็ต้องเป็นทุกข์”
ชาวนาได้ฟังจึงกล่าวว่า
“พญานกผู้มีปัญญา ทีแรกข้าพเจ้าคิดว่า ท่านเป็นนกที่โลภมาก
เพราะนกตัวอื่นเขาหากินเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เขาก็ไม่คาบอะไรไป
ส่วนท่านบินมาหากินแล้ว ก็ยังคาบรวงข้าวกลับไปอีก แต่พอฟังท่านแล้ว
จึงรู้ว่าท่านไม่ได้คาบไปเพราะความโลภ
แต่คาบไปเพราะความดี
คือเอาไปเลี้ยงพ่อแม่ เอาไปเลี้ยงลูกน้อย
และเอาไปทำบุญ ท่านทำดีจริงๆ”
ชาวนามีจิตเลื่อมใสในคุณธรรมของพญานกมาก
จึงแก้เครื่องผูกออกจากเท้าพญานก
ปล่อยให้เป็นอิสระ
แล้วมอบข้าวสาลีให้
พญานกรับข้าวสาลีไว้เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งกะคะเนแล้วว่าเพียงพอแก่บริวาร
จากนั้นจึงให้โอวาทแก่ชาวนาว่า
“ขอให้ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นสั่งสมกุศลด้วยการทำทาน
และเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าด้วยเถิด”
ชาวนาได้คติจากข้อปฏิบัติของพญานก
จึงตั้งใจทำบุญกุศลตั้งแต่นั้นมาจนตลอดชีวิต
นกแขกเต้าผู้มีปัญญา
รู้ว่าควรบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัว 
และต่อสังคม
นับเป็นการใช้ทรัพย์อย่างชาญฉลาด ที่ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีความสุขความเจริญ สุขทั้งกาย
สุขทั้งใจ สุขทั้งในปัจจุบัน 
และอนาคต
เราทุกคนเมื่อรู้จักเก็บ รู้จักหาทรัพย์แล้ว 
ก็ควรจะรู้จักหาความสุขจากการใช้ทรัพย์อย่างถูกต้องด้วย เพราะการแสวงหา? หรือครอบครองทรัพย์สินที่มี ไม่อาจสร้างความสุขใจ 
ไม่อาจทำให้เกิดบุญกุศลได้ เทียบเท่ากับการใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงต่อชีวิต

สาธุ อนุโมทามิ

          มีคำอยู่คำหนึ่งที่ชาวพุทธพูดกันจนติดปาก 
คำนั้นก็คือ “อนุโมทนาสาธุ” ความหมายของอนุโมทนาคืออะไร และเมื่อไหร่ที่ควรใช้คำนี้ คำตอบก็คือ...
ในหนังสือ ‘คำวัด’ โดยพระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ว่า อนุโมทนา หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย   เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา
           ส่วนในหนังสือศาสนพิธี เล่ม ๒ ฉบับมาตรฐาน โดยคณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณร เมื่อได้รับถวายปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็นภัตตาหาร หรือทานวัตถุใดๆ ก็ตามจากทายกทายิกา จะต้องทำพิธีอนุโมทนาทานนั้น ไม่ว่าจะได้รับรูปเดียวหรือหลายรูปก็ตาม ต้องอนุโมทนาทุกครั้ง จะละเว้นเสียมิได้ถือว่าผิดพระพุทธานุญาต ต่างแต่ว่าอนุโมทนาต่อหน้าหรือลับหลังเท่านั้น
          ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ฉะนั้นการอนุโมทนาทานจึงเป็น ประเพณีมานานในหมู่สงฆ์ การประกอบพิธีอนุโมทนาลับหลังทา ยกทายิกามีวิธีเดียว คือ การบิณฑบาตที่ต้องออกรับในสถานที่ต่างๆ ทั่วไปไม่จำกัด กรณีเช่นนี้ไม่ต้อง อนุโมทนาต่อหน้าขณะที่รับบิณฑบาต แต่กลับมาถึงวัดฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว จึงอนุโมทนา หรือยกไปอนุโมทนาในช่วงทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นก็ได้ ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ ๒ หัวข้อคือ
           ๑. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
          ๒. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง
          สำหรับคำว่า “สาธุ” แปลว่า “ดีแล้ว ชอบแล้ว” ดังนั้นการเปล่งวาจาว่าสาธุก็เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วยชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ เพื่ออนุโมทนาในบุญ หรือความดีที่ผู้อื่นทำนั่นเอง ในพระไตรปิฎก ได้พูดเรื่องผลบุญของการอนุโมทนาที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมานว่าท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า     เหตุใดมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเสียงอันเป็นทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ มีกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ เสียงของเครื่องประดับผมก็ดังเสียงไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนศีรษะก็มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ? นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้น แล้วมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนา ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิ ฉันได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อา ศัย อันบุญกรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้  
          สรุปแล้วการอนุโมทนาเป็นสิ่งดี แต่สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การลงมือทำความดี สร้างบุญกุศลนั้นๆ ด้วยตนเอง