ผลจากที่ประชุมใหญ่สามัญขององค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ. 1972 มีมติอย่างท่วมท้นในการก่อตั้ง “Convention concerning the protection of the World Cultural and Natural Heritage” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อกำหนดแหล่งมรดกโลกทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ รวบรวมแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานจากประเทศสมาชิกต่างๆ ที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษและมีคุณค่าในระดับสากล การปกป้องคุ้มครองสิ่งที่เป็นความห่วงใยของมนุษยชาติทั้งมวล และการส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศและประชาชนในการช่วยกันปกป้องสมบัติสากลเหล่านั้นให้คงอยู่สำหรับคนรุ่นอนาคต
ซึ่งรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ได้ถูกบันทึกไว้ในขณะนี้มีอยู่ 812 แห่ง รวมทั้งสิ่งมหัศจรรย์ทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ อันเป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยในการร่วมมือกันปกป้องสิ่งซึ่งมีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรม 628 แห่ง และทางธรรมชาติ 24 แห่ง จาก 137 ประเทศ อินเดียเป็นสมาชิกของมรดกโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 และได้ทำงานร่วมมือกับองค์กรนานาชาติอื่นๆ อย่างใกล้ชิด ได้แก่ ICOMOS (International Council on Monuments and Sites), IUCN (International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources) และ ICCROM (International Centre for the study of Preservation and Restoration of Cultural Property)
เฉพาะในอินเดียนั้นมีพื้นที่ที่เป็นมรดกโลกทั้งหมด 27 แห่ง ในจำนวนนี้ 22 แห่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 5 แห่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ดังรายชื่อต่อไปนี้
Cultural Sites
Ajanta Caves
Ellora Caves
Agra – Fort
Agra – Taj Mahal
Konark – Sun Temple
Mahabalipuram
Churches of Old Goa
Khajuraho
Hampi
Fatehpur Sikri
Pattadakal
Elephanta Caves
Great Living Chola Temples
Sanchi
Humayun’s Tomb
Qutb Minar
Mahabodhi Temple
Rock Shelters of Bhimbetka
Champaner
Mountain Railway of India
Chhatrapati Shivaji Terminus
Red Fort, Delhi
Natural Sites
Kaziranga National Park
Manas Wildlife Sanctuary
Keoladeo National Park
Sunderbans National Park
Nanda Devi & Valley of Flowers
ที่มาข้อมูล