การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่จอม พล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยยึดหลักที่ว่า ประเทศส่วนใหญ่มักตั้งชื่อประเทศตามเชื้อชาติของตนความคิดนี้หลายคนเห็นค้านเพราะคำว่า "ไทย" เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับเชื้อชาติไท แต่ในประเทศมีคนหลายเชื้อชาติ จะทำให้คนเชื้อชาติอื่นน้อยใจเสียมากกว่าและต่างประเทศก็รู้จัก "ประเทศสยาม" แล้วเป็นอย่างดี ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรจะเปลี่ยนแต่เนื่องจาก จอมพล ป. มีนโยบายสร้างชาติโดยอาศัยเชื้อชาติไทยเป็นหลัก จึงยังยึดความคิดเดิมที่จะเปลี่ยนนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" โดยเริ่มประกาศใช้เป็นรัฐนิยมก่อน แล้วจึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนามประเทศในภายหลังร่างหนังสือนายกรัฐมนตรีถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอความเห็นชอบในเรื่องการเปลี่ยนนามประเทศ และเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณานั้น หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้ยกร่าง ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ ความไม่สะดวกในการใช้คำว่า "สยาม" ดังนี้
(1) คนไทยมีสัญชาติและบังคับไม่ตรงกันกล่าวคือ
คนไทยทุกคนในเวลานี้มีสัญชาติไทยแต่อยู่ในบังคับสยาม
(2) ชื่อภาษา ชื่อคน กับชื่อประเทศไม่ตรงกัน กล่าวคือ เป็นประเทศสยาม
แต่คนพื้นเมืองพูดภาษาไทยเป็นอาณาจักรสยาม แต่พลเมืองเป็นคนไทย
(3) การที่เอาคำว่า "สยาม" กลับมาใช้เป็นนามประเทศนั้น เป็นการฝืนใจคนไทยโดยทั่วไป
ดังนั้นคำว่าสยามจึงมีแต่ในภาษาหนังสือ แต่ใช้พูดกันว่า "เมืองไทย" เป็นส่วนมาก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีความเห็นว่า ถ้าได้เปลี่ยนประเทศสยามเป็นประเทศไทยแล้ว จะมีผลดังนี้
(1) ได้ชื่อประเทศที่ตรงตามชื่อเชื้อชาติของพลเมือง
(2) ชนชาติไทยจะมีสัญชาติและอยู่ในบังคับอันเดียวกัน
(3) ชื่อประเทศ ชื่อภาษาพื้นเมือง ชื่อรัฐบาลกับชื่อประชาชน จะเป็น "ไทย" เหมือนกันหมด
(4) ทำให้พลเมืองรักประเทศเพิ่มมากขึ้นและมีจิตใจเข้มแข็ง รู้สึกระลึกถึงความเป็นไทยมากขึ้น
5) ก่อให้เกิดความสามัคคีและเกี่ยวพันอย่างสนิทสนม
ระหว่างชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทย และชาวไทยที่กระจัดกระจายในประเทศอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น
ถึงแม้จะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนชื่อประเทศ
แต่เสียงส่วนใหญ่ก็สนับสนุน ในหมู่ประชาชนก็ไม่มีความเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบ
รัฐบาลสั่งอะไรก็ปฏิบัติตาม จึงเป็นอันว่า "ประเทศสยาม"ก็กลายเป็นเพียงตำนานนับจากนั้น
เรื่องดีดีมีไว้แบ่งปัน http://pbmath.exteen.com
ที่ มา 108 ซองคำถาม
รูปภาพ wikipedia