วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศรีลังกา หยดน้ำตาแห่งท้องทะเล

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากตอนใต้ของอินเดียประมาณ 80 กิโลเมตร
พื้นที่
65,610 ตารางกิโลเมตร (ประมาณร้อยละ 12 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง
กรุงโคลัมโบ (Colombo)
เมืองสำคัญ
เมืองแคนดี้ (Kandy) เป็นเมืองหลวงเก่าและศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ
ภูมิอากาศ
มีอากาศแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกในช่วงฤดูมรสุม
ประชากร
19.4 ล้านคน (2551) ประกอบด้วยชาวสิงหล ร้อยละ 74 ชาวทมิฬ ร้อยละ 18 ประชากรมุสลิม (แขกมัวร์และชาวมาเลย์) ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 1
ภาษา
ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ (ร้อยละ 74)
ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการเช่นกัน (ร้อยละ 18)
ภาษาอังกฤษใช้ติดต่อสื่อสารทั่วไปในภาครัฐ และประชากรประมาณร้อยละ 10 สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ร้อยละ 70 ศาสนาฮินดู ร้อยละ 15 ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 8 และศาสนาอิสลาม ร้อยละ 7
ระบบการปกครอง
ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐภายใต้ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (Head of State and Head of Government) และดำรงตำแหน่งสูงสุดของกองทัพ ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่ง คราวละ 6 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย ประธานาธิบดีคน ปัจจุบัน คือ นายมาฮินดา ราชปักษา (Mahinda Rajapaksa) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548
วันชาติ
4 กุมภาพันธ์ (วันประกาศเอกราช)
ธงชาติศรีลังกา
เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีทอง ภายในประกอบด้วยแถบสีเขียวและสีแสดแนวตั้งที่ด้านคันธง ส่วนด้านปลายธงเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเลือดหมู ภายในมีรูปราชสีห์ยืน เท้าหน้าข้างหนึ่งถือดาบ ที่มุมสี่เหลี่ยมแต่ละมุมนั้นมีใบโพธิ์มุมละ 1 ใบ ธงนี้เรียกชืออีกอย่างว่า "ธงราชสิห์" ("Lion Flag") ธงนี้ใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2494 เมื่อประเทศศรีลังกายังใช้ชื่อว่าอาณาจักรซีลอน (Dominion of Ceylon) ภายใต้ความปกครองของสหราชอาณาจักร ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขให้เป็นธงแบบปัจจุบันเมื่อประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2515

ความหมายสัญลักษณ์แต่ละอย่างในธงชาติศรีลังกามีดังนี้
ราชสีห์ ชาวสิงหลและกำลังของชาติ ใบโพธิ์ พระพุทธศาสนาและอิทธิพลแห่งพุทธศาสนาที่มีต่อชาติ, คุณธรรม 4 ข้อ ตามหลักพรหมวิหารธรรม ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดาบ อำนาจอธิปไตย ขนแผงคอราชสีห์ ไตรสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เคราราชสีห์ วาจาอันบริสุทธิ์ ด้ามดาบ ธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ จมูกราชสีห์ ความเฉลียวฉลาด สองเท้าหน้าของราชสีห์ ความบริสุทธิ์ในการควบคุมความเจริญ แถบแนวตั้งสีแสด ชาวทมิฬ แถบแนวตั้งสีเขียว ชาวแขกมัวร์และความศรัทธาในศาสนาอิสลาม ขอบธงพื้นสีเหลืองทอง ประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศศรีลังกา พื้นสีแดงเลือดหมู ศาสนาอื่นๆ และชนชาติส่วนน้อย

ประวัติ
เมื่อพระเจ้าวิชยะ กษัตริย์พระองค์แรกแห่งเกาะลังกาเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้จากฝั่งอินเดียในปี พ.ศ. 57 พระองค์ได้ทรงนำเอาธงรูปราชสีห์มาใช้เป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ สัญลักษณ์รูปราชสีห์จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกานับแต่นั้นมา กษํตริย์ที่สืบทอดราชบัลลังก์ต่อมาจากพระเจ้าวิชยะต่างรับสืบทอดสัญลักณ์ราชสีห์ และสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้ภายหลังได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพและความหวัง ตามตำนานในระยะต่อมากล่าวว่าเมื่อพระเจ้าทุฏฐคามณีทรงทำสงครามได้ชัยชนะจากพระเจ้าเอฬาระทมิฬซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของเกาะลังกาไว้นั้น พระองค์ทรงใช้ธงรูปราชสีห์ยืนถือดาบด้วยเท้าขวาหน้าและสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์และพระจันทร์
ธงรูปราชสีห์ได้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2358 จึงสิ้นสุดลงด้วยการที่พระเจ้าศรีวิกรมะราชสิงหะ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรแคนดี ลงพระนามในอนุสัญญาแคนดีเมื่อวันที่ 2 มีนาคมของปีนั้น โดยประกาศให้พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงมีฐานะเป็นกษัตริย์แห่งซีลอน ธงราชสีห์นั้นจึงถูกแทนที่ด้วยธงยูเนี่ยนแจ็คของสหราชอาณาจักรในฐานะธงชาติซีลอน ส่วนรัฐบาลบริติชซีลอนนั้นใช้ธงอีกอย่างหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ต่างหาก สำหรับธงราชสีห์เดิมนั้น ฝ่ายอังกฤษได้นำไปไว้ที่สหราชอาณาจักรและถูกเก็บรักษาไว้ที่รอแยลฮอลปิตอลเชลซี (Royal Hospital Chelsea) ในเมืองเชลซี กาลเวลาที่ผ่านไปหลายปีทำให้ชาวลังกาหลงลืมรูปแบบดั้งเดิมของธงนี้ไป
หลังจากนั้น ด้วยความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชที่เข้มแข็งขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อี.ดับเบิลยู. เปเรรา (E. W. Perera) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในขบวนการเรียกร้องเอกราชของศรีลังกา จึงได้ค้นพบธงราชสีห์ของเดิมซึ่งถูกเก็บไว้ที่อังกฤษอีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือของ ดี.อาร. วิเชนวาร์เดเน ภาพของธงดังกล่าวจึงได้ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ "ดินามินา" ("Dinamina") ฉบับพิเศษ เพื่อระลึกถึงการครบรอบ 100 ปีแห่งการเสียเอกราชของศรีลังกา ธงราชสีห์ได้กลายเป็นจุดดึดดูดความสนใจของสาธารณชน ซึ่งได้เห็นธงนี้เป็นครั้งแรกหลังการล่มสลายของอาณาจักรแคนดี
ธงราชสีห์ได้รับการยอมรับเป็นธงชาติในฐานะธงชาติของอาณาจักรซีลอน (Dominion of Ceylon) เมื่อ พ.ศ. 2491 อย่างไรก็ตามต่อมาได้มีกานเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงอีกในปี พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2515 โดยในการเปลี่ยนแปลงครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2515 นั้น ได้มีการเปลี่ยนเอารูปปลายหอกที่อยู่ตรงมุมธงทั้งสี่มุมเป็นรูปใบโพธิ์แทน[1] ตามคำแนะนำของนิสสันกา วิเชเยรัตเน (Nissanka Wijeyeratne) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการวัฒนธรรมและประธานคณะกรรมการพิจารณาแบบธงชาติและเครื่องหมายประจำชาติในเวลานั้น รูปใบโพธิ์ทั้งสี่ที่เพิ่มเข้ามานั้นมีความหมายถึงคุณธรรม 4 ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ธงรัฐบาลบริติซซีลอน
(พ.ศ. 2358 - 2491)
ธงชาติอาณาจักรซีลอน (Dominion of Ceylon)
(พ.ศ. 2491 - 2496)
ธงชาติอาณาจักรซีลอน  (Dominion of Ceylon)
(พ.ศ. 2496 - 2515)
ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
(พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน)

บทความ